6.1.56

ใช้แฟคเตอร์มีปัญหา ทีมสหสาขาช่วยได้ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

        การใช้แฟคเตอร์มีปัญหา ทีมสหสาขาช่วยได้ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ วัตถุประสงค์ ลดปัญหาการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :
          แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ผู้ป่วยโรคนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ มีโอกาสที่จะเกิดเลือดออกได้บ่อย ทั้งจากสภาวะโรคและอุบัติเหตุ แต่ภาวะเลือดออกสามารถป้องกันและลดความรุนแรงได้ด้วยการฉีดแฟคเตอร์ 8 เข้มข้น  แฟคเตอร์ดังกล่าวมีราคาแพง การผสมและการฉีดต้องใช้เทคนิคเฉพาะ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์เริ่มมีการสั่งใช้แฟคเตอร์ ๘ ตั้งแต่มีการจัดตั้งคลินิกฮีโมฟีเลียในปีงบประมาณ  2554 ซึ่งปริมาณการใช้แฟคเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากเป็นคลินิกแห่งเดียวใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้บริการผู้ป่วยในจังหวัดใกล้เคียงด้วย โดยใน 2 ปีแรก ที่จัดตั้งคลินิก เภสัชกรมีบทบาทหน้าที่เพียงจัดหาแฟคเตอร์ให้เพียงพอเท่านั้น 
                  ในปีงบประมาณ 2556   เภสัชกรได้เข้าร่วมดูแลผู้ป่วยด้านคลินิก มีผู้ป่วยจำนวน 17 ราย พบปัญหาการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม  ทั้งหมด 28 ครั้ง ปัญหาการใช้แฟคเตอร์ปริมาณสูง ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากผู้ป่วย ได้แก่  แฟคเตอร์เสื่อมสภาพจากที่ผู้ป่วยเก็บรักษาไม่ถูกต้อง หรือผู้ป่วยได้รับแฟคเตอร์ช้า เนื่องจากไม่สามารถฉีดแฟคเตอร์ได้ด้วยตนเอง ทำให้ต้องใช้แฟคเตอร์ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น สาเหตุอันดับสอง เกิดจากบุคลากร ได้แก่ พยาบาลผสมแฟคเตอร์ 8 เข้มข้นผิดเทคนิค  สาเหตุอันดับสาม เกิดจากระบบ ได้แก่ สั่งใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น แทนยา Transamine oral solution   และปัญหาตัวแฟคเตอร์ เนื่องจากแฟคเตอร์ไวต่ออุณหภูมิที่สูง ถ้ามีการใช้แฟคเตอร์ ๘ อย่างเหมาะสม จะลดปริมาณการใช้ยาและช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคดีขึ้น
              เภสัชกรเข้าร่วมดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียตั้งแต่ปี 2556 ทำให้พบปัญหาการใช้แฟคเตอร์๘ เข้มข้นไม่เหมาะสม ทั้งหมด 28 ครั้ง  มีแฟคเตอร์เสื่อมสภาพคิดเป็นมูลค่า  50,175  บาท  หลังจากวิเคราะห์ปัญหา พบว่าสาเหตุหลักเกิดจากผู้ป่วยและบุคลากร ขาดความรู้  และสาเหตุรองเกิดจากระบบ  คือไม่มียา Transamine oral solution     ในกรณีที่มีภาวะเลือดออกในช่องปาก เนื่องจากยาดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด  ทำให้ต้องใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้นแทน  เมื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะเลือดออกแก่ผู้ป่วยและบุคลากร รวมทั้งจัดเตรียมยา Transamine  oral solution แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย และเปลี่ยนใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้นที่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูง พบว่าปัญหาการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม และมูลค่าแฟคเตอร์เสื่อมสภาพ มีแนวโน้มลดลง   

เหตุรองเกิดจากระบบ  คือไม่มียา Transamine oral solution ในกรณีที่มีภาวะเลือดออกในช่องปาก เนื่องจากยาดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด  ทำให้ต้องใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้นแทน  เมื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะเลือดออกแก่ผู้ป่วยและบุคลากร รวมทั้งจัดเตรียมยา Transamine  oral solution แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย และเปลี่ยนใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้นที่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูง พบว่าปัญหาการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม และมูลค่าแฟคเตอร์เสื่อมสภาพ มีแนวโน้มลดลง
วัดผลโดยใช้การนับจำนวนปัญหาที่พบ ในปีงบประมาณ 2557   - 2558เปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2556


รายละเอียด
 
เป้าหมาย    ( ร้อยละ )
ก่อนการดำเนินการ
ปีงบ 2556
(ผู้ป่วย 17 ราย)
หลังการดำเนินการ
ปีงบ 2557
(ผู้ป่วย 20 ราย)
หลังการดำเนินการ
ปีงบ 2558
(ผู้ป่วย 22 ราย)
1.อัตราการเกิดปัญหาแฟคเตอร์ 8 (DRPs)
ลดลง ≥50 
100%
(28 ครั้ง)
43
(ลดลง 47%)
(12 ครั้ง)
21
(ลดลง 79%)
(6 ครั้ง)
2.มูลค่าแฟคเตอร์ 8เสื่อมสภาพ (บาท)
ลดลง ≥50 
50,175  (100%)
20,070   ลดลง 60%
13,380  ลดลง 73%

ก่อนการดำเนินการ ปัญหาที่พบจากการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม  แบ่งเป็น 2 สาเหตุหลัก  คือ มีการใช้แฟคเตอร์ในปริมาณที่สูง เนื่องจากแฟคเตอร์เสื่อมสภาพ เพราะผู้ป่วยขาดความรู้ในการเก็บรักษา ไม่ทราบวิธีดูวันหมดอายุ  และผู้ป่วยขาดความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเลือดออก ซึ่งการดูแลตัวเองที่ถูกวิธี  ทำให้อาการทางคลินิกดีขึ้น ส่งผลให้ลดปริมาณการใช้แฟคเตอร์ได้   และเกิดจากผู้ป่วยได้แฟคเตอร์ช้า เนื่องจากไม่สามารถฉีดยาด้วยตนเอง เมื่อผู้ป่วยมีภาวะเลือดออก ต้องเดินทางไปสถานพยาบาลใกล้บ้าน  เมื่อได้รับแฟคเตอร์ช้า ทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษานานขึ้น   โดยมีผู้ป่วยที่สามารถฉีดยาด้วยตนเองเพียง 2 รายจาก 17 ราย (ร้อยละ 10) 
 นอกจากนี้ยังเกิดจากการที่ไม่มี Transamine oral solution เพื่อรักษาภาวะเลือดออกในช่องปาก  จึงต้องฉีดแฟคเตอร์ 8 เข้มข้นแทน  อีกหนึ่งสาเหตุ คือ บุคลากรขาดความรู้ความชำนาญ ทำให้ผสมแฟคเตอร์ผิดเทคนิค หลังจากแก้ไขในปีงบประมาณ  2557-2558 ปัญหาที่ยังพบ คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานที่ รพ.สต.และ รพช. ผสมและฉีดแฟคเตอร์ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ และบริษัทเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์  พบแฟคเตอร์เสื่อมสภาพที่บ้านผู้ป่วย เนื่องจากไฟฟ้าดับบ่อย และผู้ป่วยไม่นำแฟคเตอร์ที่มีการสำรองไว้ที่บ้าน มาสถานพยาบาลเมื่อมีอาการ  จึงไม่มีการหมุนเวียน  และปี 2558 มีผู้ป่วยที่ฉีดยาด้วยตัวเองเพียง ๗ ราย จากทั้งหมด 22 ราย (ร้อยละ 30)  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องไปใช้บริการสถานบริการใกล้บ้าน  

บทเรียนที่ได้รับ
          1.การลดการใช้แฟคเตอร์๘ในผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกตามไรฟัน โดยเปลี่ยนมาใช้Transamine oral solution จากยา Transamine capsule นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากแฟคเตอร์ 8 เข้มข้น 1 เข็ม เท่ากับ  3,345 บาท ;Transamine oral solution ไม่ถึง 100 บาท ยังช่วยเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ป่วย  เนื่องจากไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล
          2.การทำงานคุณภาพนอกจากประเด็นด้านคลินิกยังมีประเด็นเรื่องงบประมาณที่ต้องคำนึง เมื่อเภสัชกรมาร่วมทำงานกับทีมช่วยทำให้การเบิกเงินสนับสนุนจาก สปสช. ได้ครบถ้วนมากขึ้น
          3.การใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน โดยการจัดตั้งไลน์กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วยฮีโมฟีเลียใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้การส่งต่อข้อมูลและการจัดการปัญหาง่ายขึ้น
          4.วางแผนจัดทำฉลากยาเป็นภาษามลายูให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถอ่านภาษาไทย


 การติดต่อกับทีมงาน:พญ.อมรา ดือเระ  /ภญ.นิพารีด๊ะห์ หริรัตนกุล/นางจารุณี  จันทสุวรรณ
     /ภก.นพดล  พลานุกูลวงศ์           โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์  โทร ๐๗๓-๕๑๐๔๓๐  

6.4.53

ไตรสิกขา กับการพัฒนา

ศีล ( System) สมาธิ (Spirituality)ปัญญา(Science/Wisdom) หรือ ไตรสิกขา
ศีลจะเกิดมีได้ ก็ต่อเมื่อบุคคลได้ ดำริ(คิด) หรือ ระลึก(นึกถึง) เพราะเมื่อบุคคลมีจิตใจจดจ่อในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง สมาธิ ก็จะเกิดขึ้น เมื่อสมาธิเกิด ก็จะเกิดปัญญา คือสามารถนำเอาความรู้ ความเข้าใจ จากความจำในสมอง มาใช้ประพฤติ ปฏิบัติ
ดังนั้น ศีล สมาธิ ปัญญา หรือไตรสิกขาในคำว่า ศีล หมายถึงการ คิด หรือระลึก(นึกถึง) เช่น ถ้าเรามีความต้องการจะพิจารณาระบบงานๆหนึ่ง ขณะนั้นสมาธิได้เกิดขึ้น เมื่อสมองได้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับศีล และปรับแต่งตามแต่ประสบการณ์ ความจำ ความรู้ และอื่นๆ เพื่อให้มีความเข้าใจระบบงาน
เมื่อเกิดความเข้าใจ ความรู้ หรือ ปัญญา ก็เกิดขึ้น ปัญญา นั้นแท้จริงแล้ว หมายถึง ความรู้ ที่บุคคลนั้นๆ มีความเข้าใจอย่างละเอียดในระดับหนึ่ง และสามารถนำ เอาความรู้ดังกล่าวมาเปลี่ยนเป็นการประพฤติ การปฏิบัติ หรือใช้ในการทำงานใดใดได้เป็นอย่างดี จึงเรียกปัญญาเพราะความรู้ ในตัวบุคคลมีอยู่หลายประเภท ..............
ความรู้ที่อยู่ในตัวบุคคลนั้น ไม่ว่าจะเป็น ความรู้จากประสบการณ์ ความรู้จากการเรียนรู้ทางสังคมสิ่งแวดล้อมความรู้จากการศึกษาเล่าเรียน ตามหลักวิชาการ หรือความรู้จากการศึกษาเล่าเรียนด้วยตัวเอง จากการดู จากการทำ โดยรวมแล้วบนเส้นทางคุณภาพ อยากเห็นการจัดการความรู้ที่ยั่งยืน ทั้งความรู้ที่มีการศึกษาอย่างเป็นระบบ และความรู้ที่เกิดจากประสบการณ์การทำงานซึ่งฝังอยู่ในตัวคน
ซึ่งหากไม่ได้นำมาใช้หรือไม่ได้ใช้ ก็ไม่เรียกว่าปัญญาจนกระทั่ง นำออกมาใช้ได้อย่างเป็นผลดีต่อการประกอบกิจการ หรืองานใดใด นั่นแหละคือ เกิด ปัญญาWisdom

24.3.53

Fundamental concept & culture


จับจ้องจุดหมาย มิใช่อุปสรรค คนทุกระดับในองค์กรมีแนวคิดที่ตรงกัน ต่างคนต่างช่วยคิดช่วยทำแม้จะซับซ้อนแต่ไม่สับสน

3-P ที่เมื่อก่อนต้องท่องบ่อย เดี๋ยวนี้จำขึ้นใจ เอาไปปรับใช้ไม่เคยล้าสมัยการพัฒนาคุณภาพย่อมมีความต่อเนื่อง ทั้งยังมีแรงผลักดันจากผู้นำระดับหน่วย ระดับกลุ่มงาน เป็นระยะๆ พบอุปสรรคบ้างถือเป็นการเพิ่มภูมิต้านทาน เข้มแข็งขึ้น

เกิดการเรียนรู้ไม่กลัวที่จะปฏิบัติงานตามแนวคิดเหล่านั้น ช่วยกันลงแรงกันใหม่ เป็นวงล้อคุณภาพ มีทีมงานที่เข้มแข็ง เมื่อพวกเราเรียนรู้จนแข็งแรง องค์กรย่อมเข้มแข็ง

Lean>>>> การบริหารเพื่อลดความสูญเปล่า


DOWNTIME กับ COUNTDOWN ???^__^???
เราหลายคนเคยนับเวลาถอยหลังในเทศกาลปีใหม่กันมาแล้วเกี่ยวกันหรือนี่ เวลาเป็นของมีค่า(ของผู้ให้บริการ หรือของผู้รับบริการ) อย่าฆ่าเวลา ทุกคนมีเวลาเท่ากัน 24 ชั่วโมง .......เหล่านี้เป็นคำกล่าวเรื่อง TIME
เวลาที่ไม่จำเป็นในมุมมองผู้มารับบริการ ค้นพบหรือยังคะ การตัดทอนเวลาที่สูญเปล่าเป็นเรื่องที่ชาวคุณภาพบริการต้องเอาจริงเอาจังกันสักที แต่ใช่ว่าทำกันง่ายๆหลายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกัน ต้องจับมือช่วยกันมองหา ๑_๑ อาจต้องลงเดินหน้างานทำตัวเป็นผู้ใช้บริการเองบ้าง แล้วจะร้องอ๋อ.....เพราะเช่นนี้เองเรามองข้ามไปได้อย่างไร

19.3.53

ปีแห่ง สมรรถณะ

เรื่องร้อนๆหนาวๆช่วงนี้เห็นทีจะไม่พ้นเรื่องการประเมินบุคลากร ของข้าราชการ จึงเลือก
Buildup Competency and commitment มาฝากเพราะอย่างไรก็ตาม ความมุ่งมั่น ความชัดเจนของผู้นำ มีการปฏิบัติที่สะท้อนให้เห็นความตั้งใจในการพัฒนา...คุณภาพ....ทั่วทั้งองค์กร
จากทักษะพื้นฐานส่วนบุคคล ทักษะผู้นำ มีอะไรอีกที่ทำให้เกิดผลลัพท์ที่ต้องการ