22.1.52

ความต่างของ CPG กับ Tracer


Tracer กับ CPG มีเป้าหมายต่างกัน
Tracer มุ่งที่การวิเคราะห์สถานการณ์ การติดตามผลลัพธ์ เพื่อนำมาสู่การวางแผนพัฒนาต่อ หรือเพื่อปรับวิธีการทำงาน วิธีการพัฒนาคุณภาพในเรื่องนั้นๆ
CPG มีเป้าหมายเพื่อนำความรู้ที่ถูกต้องมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อการดูแลผู้ป่วยCPG คือข้อมูลชุดหนึ่งที่ช่วยในการตัดสินใจของผู้ประกอบวิชาชีพCPG เป็นเครื่องมือในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งหากใช้อย่างถูกวิธี จะเกิดประโยชน์
CPG เป็นส่วนหนึ่งของการ trace ในการ trace การดูแลผู้ป่วยด้วยโรคใดโรคหนึ่ง จะมีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นก็คือ ในโรคนี้มีข้อมูลความรู้ทางวิชาการที่ถูกต้องทันสมัยอะไรบ้างที่ควรนำมาใช้ในการดูแลผู้ป่วย
ข้อมูลวิชาการนั้นอาจจะอยู่ในรูปของรายงานการผลการวิจัย บทความทบทวน การสังเคราะห์ผลการศึกษาจำนวนมากที่เรียกว่า meta-analysis หรือ CPG ที่จัดทำโดยองค์กรวิชาชีพ เมื่อรู้ข้อมูลนั้นแล้ว ก็ถามต่อไปว่า แล้วเรานำมาปฏิบัติหรือยัง บางคนเรียกขั้นตอนนี้ว่า gap analysis คือการเปรียบเทียบว่ามี gap ระหว่างข้อความรู้กับการปฏิบัติเพียงใด
เมื่อพบว่ามี gap ก็ถามต่อไปว่า เราจะลด gap นั้นได้อย่างไร วิธีการลด gap มีมากมาย เช่น ทำเป็นนโยบายสั้นๆ แล้วเกิดการปฏิบัติ หรือทำเป็นแบบฟอร์มเพื่อการบันทึกและเตือนใจ หรือเอามาเขียนเป็น CPG ที่มีความสอดคล้องกับบริบทของ รพ. หรือจัดทำเป็นชุดข้อมูลเพื่อการตัดสินใจที่ใช้ง่ายเมื่อเข้าใจตามนี้แล้ว คำถามว่าทำ tracer แล้วไม่ต้องทำ CPG จะหมดไปเพราะเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้
การจะทำ CPG หรือไม่นั้นขึ้นกับเหตุปัจจัยเฉพาะในการดูแลโรคนั้นๆ ว่าขณะนี้เราได้ดูแลอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลความรู้วิชาการแล้วหรือยัง ถ้ายัง.....จะใช้เครื่องมืออะไรเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนเครื่องมือ tracer นั้นมีจุดมุ่งหมายเพื่อการวิเคราะห์สถานการณ์และวางแผน
ผลลัพธ์คือเกิดแนวทางการดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้น เกิดการปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยที่ดีขึ้นแต่ tracer ไม่ใช่แนวทางการดูแลผู้ป่วย
บทความโดย อาจารย์ อนุวัฒน์ ศุภชุติกุล

Gap analysis & SIMPLE


SIMPLE เป็นองค์ความรู้ที่ถูกนำมาจัดทำให้ทีมสุขภาพจดจำได้ง่าย จะเป็นแนวทางเพื่อจะพัฒนาระบบงาน ทางด้านคลินิกให้มีความปลอดภัยมากขึ้น
ในปี2551 โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์ได้นำมาใช้ เป็นแนวทางระยะหนึ่งแล้ว โดยเทียบเคียงแนวทางปฏิบัติใน SIMPLE หลายข้อกับที่ได้ปฏิบัติจริงแต่ก็ยังพบประเด็นบางอย่าง ที่ยังขาดการวิเคราะห์อย่างจริงจังในรายละเอียด ซึ่งกระบวนการนี้ต้องใช้ทีมที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ทีมIC PCTทุกสาขา ทีมสหวิชาชีพ ร่วมมือ ร่วมใจกันขานรับมาตรฐานให้ลงสู่การปฏิบัติ
การนำสู่การปฏิบัติเริ่มต้นด้วยการวิเคราะห์หาส่วนขาด ที่เรียกว่าgap analysis และนำมาวางแผน action plan แล้วลงไปดูในพื้นที่จริงว่าจะมีโอกาสในการยกระดับความปลอดภัยในการดูแลผู้ป่วยอย่างไร สิ่งสำคัญที่ขาดไม่ได้คือการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกระดับ อย่างจริงจัง( กำลังใจ กำลังกาย กำลังทรัพย์ )ประกอบกับความตั้งใจของผู้ให้บริการ ที่ต้องทำงานในกรอบมาตรฐานนั่นเอง
วันนี้ได้มีโอกาสทบทวน SIMPLE เพื่อสรุปผลการทำ Gap analysis เรียกว่างานเข้า...ก็คงไม่ผิด ได้ผลเป็นอย่างไรแล้วจะเล่าให้ฟังเป็นระยะ นะคะขอไปเตรียมจัดทีมก่อนค่ะ