6.1.56

ใช้แฟคเตอร์มีปัญหา ทีมสหสาขาช่วยได้ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้

        การใช้แฟคเตอร์มีปัญหา ทีมสหสาขาช่วยได้ ใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ วัตถุประสงค์ ลดปัญหาการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม

ปัญหาและสาเหตุโดยย่อ :
          แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น ใช้ในการรักษาผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลีย ผู้ป่วยโรคนี้มีลักษณะเฉพาะ คือ มีโอกาสที่จะเกิดเลือดออกได้บ่อย ทั้งจากสภาวะโรคและอุบัติเหตุ แต่ภาวะเลือดออกสามารถป้องกันและลดความรุนแรงได้ด้วยการฉีดแฟคเตอร์ 8 เข้มข้น  แฟคเตอร์ดังกล่าวมีราคาแพง การผสมและการฉีดต้องใช้เทคนิคเฉพาะ โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์เริ่มมีการสั่งใช้แฟคเตอร์ ๘ ตั้งแต่มีการจัดตั้งคลินิกฮีโมฟีเลียในปีงบประมาณ  2554 ซึ่งปริมาณการใช้แฟคเตอร์มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี เนื่องจากเป็นคลินิกแห่งเดียวใน ๓ จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้บริการผู้ป่วยในจังหวัดใกล้เคียงด้วย โดยใน 2 ปีแรก ที่จัดตั้งคลินิก เภสัชกรมีบทบาทหน้าที่เพียงจัดหาแฟคเตอร์ให้เพียงพอเท่านั้น 
                  ในปีงบประมาณ 2556   เภสัชกรได้เข้าร่วมดูแลผู้ป่วยด้านคลินิก มีผู้ป่วยจำนวน 17 ราย พบปัญหาการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม  ทั้งหมด 28 ครั้ง ปัญหาการใช้แฟคเตอร์ปริมาณสูง ส่วนใหญ่มีสาเหตุจากผู้ป่วย ได้แก่  แฟคเตอร์เสื่อมสภาพจากที่ผู้ป่วยเก็บรักษาไม่ถูกต้อง หรือผู้ป่วยได้รับแฟคเตอร์ช้า เนื่องจากไม่สามารถฉีดแฟคเตอร์ได้ด้วยตนเอง ทำให้ต้องใช้แฟคเตอร์ในปริมาณที่เพิ่มขึ้น สาเหตุอันดับสอง เกิดจากบุคลากร ได้แก่ พยาบาลผสมแฟคเตอร์ 8 เข้มข้นผิดเทคนิค  สาเหตุอันดับสาม เกิดจากระบบ ได้แก่ สั่งใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้น แทนยา Transamine oral solution   และปัญหาตัวแฟคเตอร์ เนื่องจากแฟคเตอร์ไวต่ออุณหภูมิที่สูง ถ้ามีการใช้แฟคเตอร์ ๘ อย่างเหมาะสม จะลดปริมาณการใช้ยาและช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการของโรคดีขึ้น
              เภสัชกรเข้าร่วมดูแลผู้ป่วยโรคฮีโมฟีเลียตั้งแต่ปี 2556 ทำให้พบปัญหาการใช้แฟคเตอร์๘ เข้มข้นไม่เหมาะสม ทั้งหมด 28 ครั้ง  มีแฟคเตอร์เสื่อมสภาพคิดเป็นมูลค่า  50,175  บาท  หลังจากวิเคราะห์ปัญหา พบว่าสาเหตุหลักเกิดจากผู้ป่วยและบุคลากร ขาดความรู้  และสาเหตุรองเกิดจากระบบ  คือไม่มียา Transamine oral solution     ในกรณีที่มีภาวะเลือดออกในช่องปาก เนื่องจากยาดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด  ทำให้ต้องใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้นแทน  เมื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะเลือดออกแก่ผู้ป่วยและบุคลากร รวมทั้งจัดเตรียมยา Transamine  oral solution แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย และเปลี่ยนใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้นที่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูง พบว่าปัญหาการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม และมูลค่าแฟคเตอร์เสื่อมสภาพ มีแนวโน้มลดลง   

เหตุรองเกิดจากระบบ  คือไม่มียา Transamine oral solution ในกรณีที่มีภาวะเลือดออกในช่องปาก เนื่องจากยาดังกล่าวไม่มีจำหน่ายในท้องตลาด  ทำให้ต้องใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้นแทน  เมื่อให้ความรู้เรื่องการดูแลปฏิบัติตัวเมื่อมีภาวะเลือดออกแก่ผู้ป่วยและบุคลากร รวมทั้งจัดเตรียมยา Transamine  oral solution แก่ผู้ป่วยเฉพาะราย และเปลี่ยนใช้แฟคเตอร์ 8 เข้มข้นที่สามารถทนต่ออุณหภูมิที่สูง พบว่าปัญหาการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม และมูลค่าแฟคเตอร์เสื่อมสภาพ มีแนวโน้มลดลง
วัดผลโดยใช้การนับจำนวนปัญหาที่พบ ในปีงบประมาณ 2557   - 2558เปรียบเทียบกับปีงบประมาณ 2556


รายละเอียด
 
เป้าหมาย    ( ร้อยละ )
ก่อนการดำเนินการ
ปีงบ 2556
(ผู้ป่วย 17 ราย)
หลังการดำเนินการ
ปีงบ 2557
(ผู้ป่วย 20 ราย)
หลังการดำเนินการ
ปีงบ 2558
(ผู้ป่วย 22 ราย)
1.อัตราการเกิดปัญหาแฟคเตอร์ 8 (DRPs)
ลดลง ≥50 
100%
(28 ครั้ง)
43
(ลดลง 47%)
(12 ครั้ง)
21
(ลดลง 79%)
(6 ครั้ง)
2.มูลค่าแฟคเตอร์ 8เสื่อมสภาพ (บาท)
ลดลง ≥50 
50,175  (100%)
20,070   ลดลง 60%
13,380  ลดลง 73%

ก่อนการดำเนินการ ปัญหาที่พบจากการใช้แฟคเตอร์ไม่เหมาะสม  แบ่งเป็น 2 สาเหตุหลัก  คือ มีการใช้แฟคเตอร์ในปริมาณที่สูง เนื่องจากแฟคเตอร์เสื่อมสภาพ เพราะผู้ป่วยขาดความรู้ในการเก็บรักษา ไม่ทราบวิธีดูวันหมดอายุ  และผู้ป่วยขาดความรู้ในการดูแลตนเองเมื่อมีภาวะเลือดออก ซึ่งการดูแลตัวเองที่ถูกวิธี  ทำให้อาการทางคลินิกดีขึ้น ส่งผลให้ลดปริมาณการใช้แฟคเตอร์ได้   และเกิดจากผู้ป่วยได้แฟคเตอร์ช้า เนื่องจากไม่สามารถฉีดยาด้วยตนเอง เมื่อผู้ป่วยมีภาวะเลือดออก ต้องเดินทางไปสถานพยาบาลใกล้บ้าน  เมื่อได้รับแฟคเตอร์ช้า ทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษานานขึ้น   โดยมีผู้ป่วยที่สามารถฉีดยาด้วยตนเองเพียง 2 รายจาก 17 ราย (ร้อยละ 10) 
 นอกจากนี้ยังเกิดจากการที่ไม่มี Transamine oral solution เพื่อรักษาภาวะเลือดออกในช่องปาก  จึงต้องฉีดแฟคเตอร์ 8 เข้มข้นแทน  อีกหนึ่งสาเหตุ คือ บุคลากรขาดความรู้ความชำนาญ ทำให้ผสมแฟคเตอร์ผิดเทคนิค หลังจากแก้ไขในปีงบประมาณ  2557-2558 ปัญหาที่ยังพบ คือ พยาบาลที่ปฏิบัติงานที่ รพ.สต.และ รพช. ผสมและฉีดแฟคเตอร์ไม่ถูกต้อง เนื่องจากมีการหมุนเวียนเจ้าหน้าที่ และบริษัทเปลี่ยนแปลงรูปแบบผลิตภัณฑ์  พบแฟคเตอร์เสื่อมสภาพที่บ้านผู้ป่วย เนื่องจากไฟฟ้าดับบ่อย และผู้ป่วยไม่นำแฟคเตอร์ที่มีการสำรองไว้ที่บ้าน มาสถานพยาบาลเมื่อมีอาการ  จึงไม่มีการหมุนเวียน  และปี 2558 มีผู้ป่วยที่ฉีดยาด้วยตัวเองเพียง ๗ ราย จากทั้งหมด 22 ราย (ร้อยละ 30)  ผู้ป่วยส่วนใหญ่ต้องไปใช้บริการสถานบริการใกล้บ้าน  

บทเรียนที่ได้รับ
          1.การลดการใช้แฟคเตอร์๘ในผู้ป่วยมีภาวะเลือดออกตามไรฟัน โดยเปลี่ยนมาใช้Transamine oral solution จากยา Transamine capsule นอกจากจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายเนื่องจากแฟคเตอร์ 8 เข้มข้น 1 เข็ม เท่ากับ  3,345 บาท ;Transamine oral solution ไม่ถึง 100 บาท ยังช่วยเพิ่มความสะดวกแก่ผู้ป่วย  เนื่องจากไม่ต้องเดินทางมาโรงพยาบาล
          2.การทำงานคุณภาพนอกจากประเด็นด้านคลินิกยังมีประเด็นเรื่องงบประมาณที่ต้องคำนึง เมื่อเภสัชกรมาร่วมทำงานกับทีมช่วยทำให้การเบิกเงินสนับสนุนจาก สปสช. ได้ครบถ้วนมากขึ้น
          3.การใช้เทคโนโลยีมาช่วยในการทำงาน โดยการจัดตั้งไลน์กลุ่มเจ้าหน้าที่ที่ดูแลผู้ป่วยฮีโมฟีเลียใน ๓ จังหวัดชายแดนใต้ ทำให้การส่งต่อข้อมูลและการจัดการปัญหาง่ายขึ้น
          4.วางแผนจัดทำฉลากยาเป็นภาษามลายูให้แก่ผู้ป่วยที่ไม่สามารถอ่านภาษาไทย


 การติดต่อกับทีมงาน:พญ.อมรา ดือเระ  /ภญ.นิพารีด๊ะห์ หริรัตนกุล/นางจารุณี  จันทสุวรรณ
     /ภก.นพดล  พลานุกูลวงศ์           โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์  โทร ๐๗๓-๕๑๐๔๓๐