21.11.51

นโยบาย KM ของโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์

การจัดการความรู้
โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
ประจำปี ๒๕๕๑ – ๒๕๕๔

บริการด้วยรอยยิ้ม สุขใจทั้งผู้ให้และผู้รับบริการ

วัตถุประสงค์
๑ เพื่อให้โรงพยาบาลมีการจัดการความรู้ที่มีรูปธรรมทั้งในด้าน explicit และ tacit
๒ ส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์ในการปฏิบัติงาน
๓ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้มีการใช้ความรู้อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
๔ รณรงค์และปลุกจิตสำนึกให้เกิดการเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

นโยบาย KM ของโรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์
ส่งเสริมให้บุคลากรของโรงพยาบาลซึ่งเป็นบุคลาการทางด้านการบริหารและบริการทางวิชาการ
มีกลไกการจัดการความรู้ที่จะทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และและสร้างความเข้าใจในงานต่าง ๆทำให้สามารถต่อยอดและเชื่อมโยงการทำงานในโรงพยาบาลที่มีบุคลาการวิชาชีพต่าง ๆ ได้
การพัฒนาคนพัฒนางานต้องอาศัยการความหลากหลายทักษะ หลากหลายวิธีคิด มาร่วมกันคิดร่วมกันทำอย่างสร้างสรรค์ สู่เป้าหมายของโรงพยาบาล

เนื้อหาสาระ:
การเรียนรู้ตามรอยพระยุคลบาทและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง
คุณธรรม จริยธรรม และการปฏิบัติตามหลักธรรมาภิบาล
การพัฒนาระบบบริการของโรงพยาบาล
ความปลอดภัยของผู้ป่วย ( Patient Safety Goal )
การประชาสัมพันธ์เพื่อเพิ่มภาพลักษณ์ของโรงพยาบาล
การสื่อสารเพื่อความเป็นเลิศทางด้านบริการทางการแพทย์
การเจรจาไกล่เกลี่ยบริการทางการแพทย์
การแพทย์ตามแนวทางของอิสลาม
การป้องกันการทุจริตและประพฤติมิชอบ ในโครงการโรงพยาบาลใสสะอาด
เรื่องเล่าของผู้มีประสบการณ์

ทบทวนอีกครั้ง ยุทธศาสตร์ 2552

วิสัยทัศน์ : โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์และเครือข่าย เป็นสถานพยาบาลที่ได้มาตรฐานผู้รับบริการพึงพอใจ ก้าวไกลพัฒนา ประชาชนมีสุขภาพดี
พันธกิจ : ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาล ฟื้นฟูสภาพ อย่างมีมาตรฐาน ทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ก้าวล้ำทันสมัย เปี่ยมด้วยคุณธรรม ภายใต้สภาวะวิกฤต
ยุทธศาสตร์การพัฒนา ปี2552
1. พัฒนางานอนามัยแม่และเด็ก
2. พัฒนาระบบบริหารจัดการทรัพยากรบุคคล
3. Safety Hospital
4. พัฒนาระบบบริการ
5. พัฒนาระบบ IT
6. สร้างความร่วมมือกับชุมชน
7. ผลักดันนโยบายสุขภาพให้เข้าถึงประชาชนภายใต้สภาวะวิกฤติ
เป้าประสงค์ :
1. โรงพยาบาลและเครือข่าย เป็นสถานบริการที่ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย
2. เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบมีส่วนร่วมและมีศักยภาพในการส่งเสริมสุขภาพในชุมชนของตนเอง
3. ผู้รับบริการสามารถเข้าถึงบริการสุขภาพตามสิทธิประโยชน์หลักได้อย่างรวดเร็วและเกิดความพึงพอใจ
4. บุคลากรได้รับการพัฒนา ความรู้ ความสามารถและมีความสุขในการทำงาน